องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อม ได้รับการการยกฐานะเดิมจากสภาตำบลไผ่ล้อมเป็นองค์การบริหารส่วน ตำบลไผ่ล้อม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมตำบลไผ่ล้อมเป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่ประชาชนอพยพมาจากจังหวัดสุโขทัย มารวมตัวกัน และตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นกลุ่ม ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ (บึงมาย) ต่อมาทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเป็นตำบล โดยมีชื่อว่า “ตำบลไผ่ล้อม” มีวัฒนธรรม ประเพณี และภาษาพูดคล้ายแบบสุโขทัย
ตำบลไผ่ล้อม เป็นหนึ่งในแปดตำบลของเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอลับแล ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ ๘ กิโลเมตร
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำการเกษตร
แหล่งน้ำทางการเกษตร (ธรรมชาติ)
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อม นับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อม ดังนี้
1. วัดโพธิ์ทอง หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
2. วัดดงสระแก้ว หมู่ที่ 5 ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
การจัดงานประเพณีในวันสำคัญต่างๆ ในส่วนตำบลไผ่ล้อม ได้แก่
1.ประเพณีลอยกระทง
2.ประเพณีสงกรานต์
3.ประเพณีฉลากภัตร
4. ทำบุญกลางบ้าน
5. ประเพณีวันเข้าพรรษา
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- นายจำลอง จันทร์เจริญ หมู่ที่ 4 ถักแห
- นางน้ำฝน มูลน้ำอ่าง หมู่ที่ 4 ขนมไทย
- นายโตก ทานา หมู่ที่ 5 จักสาน
- นางมา ศรีภูมิ หมู่ที่ 5 จักสาน
- นายหวีด มากมี หมู่ที่ 6 หมอกระดูก
- นายจ๊อต อยู่อิ่ม หมู่ที่ 6 จักสาน
- นางอรวรรณ ชนินทร์ชนพงศ์ หมู่ที่ 6 นวดแผนโบราณ
- นางจรูญ เขียวจันทร์แสง หมู่ที่ 6 ประดิษฐ์ดอกไม้
- นางสาวสังวาลย์ ใคร้คง หมู่ที่ 7 ถักแห,ถักสวิง
- นายชื่น บุญมา หมู่ที่ 7 จักสานสุ่มไก่,ลอบ,ไซ
- นายสนาม ป๊อกหลง หมู่ที่ 7 เป่าพ่นดับพิษไฟ, ทำน้ำมนต์ธรณีสาน
- นายน้อย คงเกตุ หมู่ที่ 7 สานเปลยวนไม้ไผ่
- นางบัวโรย แป้นสวน หมู่ที่ 7 บายสี
- นางสาวเฟื่อง อ่ำเมือง หมู่ที่ 7 ทอเสื่อกก
- นางวันเพ็ญ สุกริม หมู่ที่ 7 เถ้าแก่งานแต่งงาน
ภาษาถิ่น ชาวตำบลไผ่ล้อมมีภาษาพูดคล้ายแบบสุโขทัย
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
น้ำที่ประชาชนในตำบลไผ่ล้อมใช้สำหรับการอุปโภค-บริโภคและทำการเกษตรมีดังนี้
1. คลองธรรมชาติ จำนวน 17 สาย ได้แก่ คลองเรือ คลองตาชม คลองตาบู่ คลองร้องไส้ไก่เหนือ คลองร้องไส้ไก่ใต้ คลองตาเหล็ก คลองข้างวัดโพธิ์ทอง คลองรอบหมู่บ้านหมู่ที่ 4 คลองต้นกะพี้ คลองระกำรี คลองต้นสงวน คลองรอบหมู่บ้านหมู่ที่ 5 คลองควาย คลองเหมืองปลาไหล คลองเหมืองพญา คลองปู่ฟัก คลองต้นไทร
2. บึงน้ำจืด จำนวน 1 แห่ง คือ บึงมาย มีเนื้อที่ขนาด 6,802 ไร่
3. หนองน้ำ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ หนองบอนตาหอม หนองอีว้า หนองรังนก หนองหมื่นพล
4. คลองชลประทาน จำนวน 4 สาย
9.2 ป่าไม้
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อมไม่มีพื้นที่ป่า
9.3 ภูเขา
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อมไม่มีภูเขา
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ คือบึงมายมีเนื้อที่ขนาด 6,802 ไร่ เป็นที่รับน้ำจากตอนเหนือของอำเภอลับแล และเป็นแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรของชาวตำบลไผ่ล้อม